กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย) ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย
ขั้นตอนการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้ง
1. เตรียมถาดพลาสติกสำหรับเพาะกล้า หลังจากนั้นนำดินพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
ในอัตรา 2 : 1 ใส่ดินผสมดังกล่าวในถาดที่เตรียมไว้
2. หาเศษไม้เล็กๆ กดลงไปในดิน โดยความลึกประมาณ 0.5 ซม.
3. นำเมล็ดหยอดลงในหลุม โดยหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วนำดินไปกลบพร้อมรดน้ำให้เรียบร้อย
4. เมื่อเข้าสู่วันที่ 7-10 ผักกาดเขียวกวางตุ้งเริ่มมีการเจริญเติบโต ควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ทั้งเช้า
และเย็น
5. พอเข้าสู่วันที่ 20-25 สามารถย้ายกล้าลงปลูกในกระถางได้
6. เก็บผลผลิตได้เมื่อเข้าสู่วันที่ 40-45
การดูแล
1. เมื่อเราย้ายกล้าจากถาดพลาสติกลงในกระถาง หมั่นรดน้ าอย่างสม่ าเสมอทั้งช่วงเช้าและเย็น
2. พอย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
3. เมื่อหว่านปุ๋ยเคมี ควรรีบรดน้ำให้ต้นผักกาดเขียวกวางตุ้งทันที ถ้าเพาะในกระถาง
อ้างอิงจาก https://decor.mthai.com/garden/47901.html
นายกะเพรา
วิธีการปลูกกะเพรา
สำหรับวิธีปลูกกะเพรานั้นสามารถใช้ได้ทั้งเมล็ดปลูก และการชำกิ่ง กะเพราสามารถปลูกได้กับดินทุกชนิด แต่ถ้าปลูกในดินร่วน จะระบายน้ำได้ดีและให้ผลผลิตที่ดีกว่า การให้น้ำต้องหมั่นให้ทั้งเช้า – เย็น และควรปลูกไว้ในที่ที่ได้รับแดดแบบเต็มวัน
อ้างอิง https://www.sanook.com/campus/1421879/
ประโยชน์ของกะเพรา
ช่วยขับไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย
มีฤทธิ์ในการลดระดับของไขมันในร่างกาย มีการทดลองใช้ใบกะเพราในกระต่ายทดลองโดยให้กระต่ายกินใบกะเพราเป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลปรากฎว่า ระดับไขมันโดยรวมในกระต่ายลดลงโดยเฉพาะไขมันเลว ในขณะที่ไขมันชนิดดีกลับเพิ่มขึ้น
ช่วยควบคุมโรคเบาหวาน
มีฤทธิ์ในการขับไขมันและน้ำตาลที่เป็นส่วนเกินออกจากร่างกายได้จึงช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี กะเพราจึงสามารถป้องกันโรคเบาหวานได้
ป้องกันโรคมะเร็ง
สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในช่องปากได้ โดยมีการนำเอาสารสกัดชนิดน้ำและชนิดผงจากใบกะเพราแบบเข้มข้นและแบบอ่อนมาทดลองกับเซลล์มะเร็งช่องปาก พบว่า สารสกัดทั้งสองนั้นมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งในช่องปากได้ นอกจากนี้ยังพบว่า สารที่สกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนังในหนู
รักษาสุขภาพในช่องปาก
งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพในช่องปาก โดยแบ่งผู้ทดลองให้ใช้น้ำยาบ้วนปากจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลการทดลองพบว่า ผู้ที่บ้วนปากด้วยกะเพรามีระดับคราบพลัคและอาการเหงือกอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้คลอร์เฮกซิดีน ที่สำคัญยังไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ อีกด้วย
อ้างอิง https://hdmall.co.th/blog/c/benefits-of-basil-and-caution/
น้องแมงลัก
วิธีการปลูกแมงลัก
วิธีปลูกผักอีตู่ (ต้นแมงลัก) ในกระถาง ผสมดินร่วน ปุ่ยคอก แกลบ ขุยมะพร้าว ทราย ปูนขาว ให้เข้ากัน จากนั้น พรวนดิน แล้วตากแดดทิ้งไว้ 7 วัน เสร็จแล้ว นำดินใส่กระถาง เตรียมไว้ โรยเมล็ดแมงลักลงไปให้ทั่ว ๆ โรยดินทับลงไป แล้วรดน้ำให้ดินชุ่ม เสร็จแล้ว นำกระถางไปวางไว้ในที่ที่โดนแสงแดด รดน้ำวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รอจนกว่าต้นแมงลักจะโตเป็นต้นกล้า พอต้นแมงลักโตเป็นต้นกล้าแล้ว ให้ย้ายต้นกล้าลงในกระถางใหญ่ โดยเวลาย้าย ให้ขุดดินพร้อมต้นกล้าขึ้นมา ใส่กระถางใหญ่ ซึ่งรดน้ำจนดินชุ่มดีแล้ว จากนั้น ฝังรากต้นแมงลักลงไปในดิน แล้วรดน้ำให้ดินชุ่มอีก 1 รอบ นำต้นแมงลักมาไว้ในที่แสงรำไร แล้วรดน้ำต่อวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 – 5 วัน พอต้นแมงลักเริ่มแข็งแรงดีแล้ว ให้ย้ายไปไว้ในที่ที่โดนแสงแดดดี แล้วเริ่มใส่ปุ๋ยคอก และคอยรดน้ำให้ดินชุ่มสม่ำเสมอ ระหว่างปลูก ให้คอยเด็ดยอดอ่อน เพื่อให้ต้นโตเร็วมากยิ่งขึ้น (สามารถนำยอดอ่อนมาปักชำข้าง ๆ ตรงพื้นที่ว่างในกระถางได้) เมื่อต้นแมงลัก โตจนมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ก็สามารถเก็บใบแมงลัก มาบริโภค หรือ ขายเพื่อสร้างรายได้ ได้แล้ว
https://www.kroobannok.com/91530
ประโยชน์ของใบแมงลัก
เมล็ด – ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
ใบ – ใช้ขับลม
https://morkeaw.net/hairy-basil/
มะละกอ
วิธีการปลูก
มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรง
ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาว และกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
ประโยชน์ของมะละกอ
- บำรุงสายตา
มะละกอเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตมินเอ วิตามินที่สำคัญต่อการทำงานของจอประสาทตาและการมองเห็น โดยเฉพาะการมองเห็นในตอนกลางคืน อีกทั้งเบต้าแคโรทีนในมะละกอยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ
และเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ จึงช่วยเสริมพลังในการบำรุงสายตาของเราได้อีก
- เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
มะละกอมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน ซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้จะช่วยเสริมภูมิคุมกันของร่างกาย ช่วยให้เราไม่ป่วยได้ง่าย ๆ
- บรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน
วิตามินซีมีส่วนสำคัญในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และในมะละกอเองก็มีวิตามินซีอยู่ไม่น้อยนะคะ รวมไปถึงวิตามินอื่น ๆ อีกมากมาย
- บำรุงเลือด บำรุงน้ำนม
สารอาหารในมะละกอมีส่วนช่วยบำรุงเลือด และช่วยขับน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอด อีกทั้งการกินมะละกอสุกยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาทของคุณแม่ด้วยนะคะ ส่งผลให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปอย่างไหลลื่นมากขึ้น
- ช่วยย่อยอาหาร
เอนไซม์ปาเปนในมะละกอที่มีสรรพคุณในการย่อยเนื้อก็มีส่วนช่วยย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นไม่ว่าจะกินมะละกอดิบจากเมนูส้มตำ หรือกินมะละกอสุกก็ได้รับเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารได้เหมือนกันเลย
- แก้ท้องผูก
มะละกอมีไฟเบอร์สูง และมีน้ำย่อยธรรมชาติที่สามารถกำจัดคราบโปรตีนเก่า ๆ ที่ร่างกายย่อยไม่หมดออกไป ช่วยกำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการขับถ่ายของลำไส้ รวมทั้งพาเอาปัญหาท้องผูกออกไปจากตัวเราด้วย ที่สำคัญคือ ยังมีสารเพกตินที่เป็นสารช่วยเคลือบกระเพาะและลำไส้ ช่วยลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร พร้อมกับสรรพคุณที่ช่วยให้กากอาหารมีมากขึ้นจนไปกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวถ่ายออกมา เมื่อถ่ายง่าย ถ่ายคล่อง ก็จะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ด้วยล่ะ
- มีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านมะเร็ง
มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์ร้ายเกิดขึ้นกับร่างกาย
http://www.medi.co.th/news_detail71.php?q_id=988