วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

7 วิธีลดขยะให้โลกน่าอยู่


 มี 7 วิธี หรือที่เรียกกันว่า 7 R มานำฝาก นะค่ะ 

1.Refuse  ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม 

        จากรายงานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ระบุว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะประเภทพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือ เฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน ซึ่งในจำนวนนี้ ไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีฝังกลบได้ทั้งหมด เพราะ

        พลาสติกใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี เผาทำลายไม่ได้ เพราะพลาสติกมีส่วนประกอบของเม็ดปิโตรเลียม ซึ่งเมื่อละเหยไปในบรรยากาศ จะสร้างสารปนเปื้อนในดินและน้ำ

2.  Recycle  (แยกขยะให้เป็นนิสัย)


    ทุกคนคงเคยเห็นถังขยะหลากหลายสีมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากการแยกขยะให้เป็นนิสัย จะช่วยให้กำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอีกด้วย เพราะแต่ละวัน เจ้าหน้าที่จะต้องเก็บขยะวันละมากกว่า 9,000 ตัน ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งการแยกขยะ และทิ้งขยะลงในถังตามสี คือ ทิ้งเศษอาหาร กากของผัก ผลไม้ ในถังสีเขียว ทิ้งแก้วอลูมิเนียม หรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ในถังสีเหลือง และทิ้งขยะทั่วไปที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล่องนม เศษผ้า ยาง ไม้ในถังสีน้ำเงิน เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถช่วยโลกได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

3.  Reuse  (ใช้อย่างคุ้มค่า)


        -  อาจจะเริ่มจากการใช้ปากกาจนหมดด้าม เขียนดินสอจนหมดแท่ง 
        -  การใช้กระดาษให้เต็มทั้งสองหน้าจนเป็นนิสัย
        -  ลองเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นของใช้หรือดัดแปลงเป็นของ D.I.Y

ลองประดิษฐ์ของชิ้นเล็กๆ น่ารัก แล้วนำไปมอบให้คนที่คุณรักดูสิ แล้วจะรู้ว่างาน D.I.Y 
ให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
(ตอนนี้ กำลังคิดว่าจะทำอะไรให้พี่สาวคนหนึ่งในวันคล้ายวันเกิดสักชิ้น จะทันไหมหนอ 3 พ.ค.นี้)😁

4.  Refill  (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์)

เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของอุปโภคต่างๆ เช่นน้ำยาซักผ้าแบบ Refill  ลดการซื้อของในบรรจุภัณฑ์ใหม่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้านลงได้มากกว่า 30 %

การทำแบบนี้จะช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต Packaging ในโรงงานได้ด้วย เรียกว่าทำแค่อย่างเดียว แต่ช่วยโลกได้สองต่อเลยนะ!

5.  Refair  (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้)

        เคยลองสังเกตุสิ่งของรอบตัวดูบ้างไหม ว่าเรากำลังใช้มันอย่างผิดวิธี หรือกำลังทำให้มันพังก่อนถึงเวลาหรือเปล่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น
    - อย่าเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา
    - ไม่ใช้ไมโครเวฟกำลังแรง อุ่นอาหารเป็นเวลานาน
    - ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าวันละ 8 ชม.
    - ฝึกซ่อมอุปกรณ์ด้วยตนเองช่วยลดปริมาณขยะ แทนที่เราจะต้องทิ้งสิ่งของนั้นไป

6.  Reduce  (ลดการใช้สิ่งต่างๆ)

ลองเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ใช้ได้นาน แทนการซื้อสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือมีปริมาณน้อยหลายๆ ชิ้นดูสิ ถ้าอะไรที่มีอยู่แล้ว ลองห้ามใจตัวเอง ไม่ซื้อของประเภทเดียวกันหรือแบบเดียวกันไว้ที่บ้าน นอกจากจะลดปริมาณขยะได้มากแล้ว ยังเป็นวิธีต้ดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

7.  Return  (หมุนเวียนมาใช้ใหม่)

        หลายคนคงอาจไม่รู้ว่า การคืนขวดน้ำอัดลม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลับไปสู่ผู้ผลิตนั้น นอกจากจะผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว กระบวนการดังกล่าว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเลด้วย เนื่องจากขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว ต้องใช้ทรายเป็นวัตถุดิบหลัก โดยทั้งหมดจะถูกขุดขึ้นมาจากบริเวณรอบๆ ชายฝั่งทะเล การใช้ทรายแก้วจำนวนมาก จึงทำให้แนวดินดอนชายฝั่งทะเลถูกทำลาย และเสียรูปทรงดั้งเดิม อีกทั้งถูกกัดเซาะสูงขึ้น จนเกิดเป็นปัญหาภูมิทัศน์ทางทะเลตามมา เราจึงควรแยกขวดแก้วออกจากขยะอื่นๆ และส่งคืน เพื่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ และรักษาชายหาดที่สวยงามไปพร้อมกัน

อาจจะไม่ต้องทำตามให้ครบทุกวิธี แต่แค่เลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง แล้วนำมาปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกลายเป็นหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นเป็นกอง


อ้างอิงข้อมูลจาก https://kasets.art/DEASOw

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรมใหม่

จัดตกแต่งสถานที่ในงานกิจกรรมหรือนิทรรศการด้วยการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาตกแต่งใหม่

       งานตกแต่งสถานที่ด้วยวัสดุเหลือใช้ หากจะทิ้งและต้องกลายเป็นขยะ นำมาใช้ใหม่ ด้วยการประดิษฐ์เป็นต้นไม้ปลอมขนาดใหญ่ สูงประมาณ 180 CM     ...